องค์กรเพื่อคนพิการ

  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า  กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

 

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2536 เพื่อเป็นแหล่งทุนสนับสนุนการศึกษา การวิจัย การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ เพื่อให้มีโอกาสเล่าเรียนจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยมีเป้าหมายสำหรับวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งให้การช่วยเหลือนักศึกษาพิการจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ในการฝึกให้มีความพร้อมในการพึ่งตนเองด้วยการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยเหลือในการศึกษาเล่าเรียน บทความนี้ เป็นบทสรุปถึงพระราชจริยาวัตรที่ทูลกระหม่อมทรงมีต่อคนพิการ รวมถึงญาติ ครู และผู้ดูแลคนพิการ เพื่อท่านผู้อ่านจะได้เข้าใจและชื่นชมในพระจริยาวัตรนั้น

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เคยตรัสเล่าพระราชทานว่า ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ไม่เคยที่จะทรงรู้สึกรังเกียจ กลัว หรือรำคาญคนพิการเลย เพราะสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงจัดให้เสด็จออกไปทำหน้าที่เลี้ยงอาหารคนพิการ ทรงป้อนข้าวคนพิการด้วยพระหัตถ์ตั้งแต่ครั้งที่ยังทรงเรียนหนังสือชั้นประถมศึกษา เมื่อทรงพระเจริญวัยขึ้น ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จ พระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัด ทรงพบเห็นคนพิการมากขึ้นเป็นลำดับ ทรงทราบถึงปัญหาของคนพิการเหล่านั้น และทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์ พระราชทานค่ารักษาพยาบาล อุปกรณ์ช่วยคนพิการ ส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาและฝึกงานอาชีพ เสมอด้วยคนปกติ มีคนพิการจำนวนไม่น้อยที่พระราชทานเงินเลี้ยงชีพอย่างต่อเนื่องโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เงินจากกองทุนต่าง ๆ เช่น มูลนิธิสายใจไทย และมูลนิธิราชสุดาเป็นต้น

Read more

วัตถุประสงค์

1. ช่วยคนพิการให้ได้มีโอกาสทางการศึกษาเสมอด้วยคนทั่วไปจนถึงระดับปริญญา 2. ช่วยให้คนพิการได้รับการฟื้นฟูสู่ภาวะวิถีชีวิตอิสระ (Independent Living) 3. ส่งเสริมให้มีการผลิตสื่อ อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการศึกษา และการดำรงวิถีชีวิตอิสระ 4. ส่งเสริมงานบริการการศึกษา งานผลิตบุคลากร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และการประกอบอาชีพของคนพิการ 5. ดำเนิน และประสานงานกับ สถาบัน สมาคม มูลนิธิ และองค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคนพิการทั้งใน และนอกราชอาณาจักร เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์อันชอบธรรมของคนพิการ และขยายผลไปสู่ความเจริญของคนพิการโดยเฉพาะในเรื่องการศึกษา และการมีวิถีชีวิตอิสระ 6. ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ และไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมือง

คณะกรรมการ

พระนาม/นามคณะกรรมการ ที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่(ชุดปัจจุบัน) มูลนิธิราชสุดา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธาน นายเตช  บุนนาค รองประธาน นายพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการโดยตำแหน่ง นายกมล ดิฐกมล กรรมการ รองศาสตราจารย์รจนา ทรรทรานนท์ กรรมการ กรรมการ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์บุญชู  กุลประดิษฐารมณ์ กรรมการ รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี  ดีจงกิจ กรรมการ แพทย์หญิงวัชรา  ริ้วไพบูลย์ กรรมการ และเหรัญญิก ศาสตราจารย์เกียรติคุณพูนพิศ อมาตยกุล กรรมการ และเลขานุการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วชิราภรณ์  วรรณดี กรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ ที่ปรึกษามูลนิธิราชสุดา ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ศาสตราจารย์พิเศษหิรัญ  รดีศรี ผู้สอบบัญชี เจ้าหน้าที่มูลนิธิราชสุดา นางสาววงพักตร์  เอี่ยมสำอางค์ หัวหน้าสำนักงาน นางสาววรรณพร  … Read more

เกี่ยวกับมูลนิธิ

ประวัติการก่อตั้ง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ          สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานมูลนิธิราชสุดา

มูลนิธิราชสุดา เป็นมูลนิธิที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดตั้งขึ้น โดยได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้สร้อยพระนามาภิไธย “ราชสุดา” เป็นมงคลนามพระราชทานนามนี้ เมื่อวันวิสาขบูชา ตรงกับวันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้เป็นกองทุน เพื่อสนับสนุน การศึกษา และการวิจัยในเรื่องของคนพิการทางกาย อันได้แก่ คนพิการหูหนวก หูตึง พูดไม่ได้ หรือพูดผิดปกติ พิการทางการมองเห็น ความพิการของสมอง พิการทางร่างกาย และการเคลื่อนไหว ให้ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เปิดโอกาสให้ได้ศึกษาในมหาวิทยาลัยทุกระดับเสมอด้วยคนทั่วไป หลังจากที่ได้ก่อตั้งมูลนิธิ ฯ มาเป็นระยะเวลา 4 ปีเศษ มูลนิธิ ฯ ได้ขยายขอบเขตการให้ความช่วยเหลือกว้างออกไปอีก คือ ให้การสนับสนุนการศึกษาในคนปกติที่มีความประสงค์จะทำงานบริการคนพิการ เช่น ผู้บริหารงานเกี่ยวกับคนพิการ ครูการศึกษาพิเศษ นักวิชาการงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ รวมไปถึงการให้บริการที่หลากหลายแก่คนพิการ เช่น การให้บริการคำปรึกษาแนะแนว งานบริการล่ามภาษามือ และในอนาคตจะขยายการช่วยเหลือออกไปสู่คนพิการประเภทอื่น ๆ อันได้แก่ คนพิการทางพฤติกรรม คนพิการทางการเรียนรู้ และคนปัญญาอ่อน รวมถึงคนที่มีความพิการซ้ำซ้อนอีกด้วย

Read more